Thursday, March 28, 2024

การอ่านสเป๊คแผงโซล่าเซลล์

Share

อยากติดตั้งโซล่าเซลล์แต่ก็อยากมีความรู้เบื้องต้นบ้าง เพื่อป้องกันการโดนหลอก สิ่งหนึ่งที่ควรรู้ก็คือสเป๊คของแผงโซล่าเซลล์ ส่วนมากจะดูแค่ว่าแผ่นนั้นผลิตพลังงานได้กี่วัตต์ ซึ่งจะดูแค่นั้นมันก็ได้ถ้าเรามั่นในช่างที่เราจ้างมาจริง ๆ แต่มันก็ดีกว่าใช่มั้ยครับ ถ้าเรารู้ลึกมากกว่านี้ เพราะจะได้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดว่าแผงที่เราใช้งานนั้นเต็มประสิทธิภาพจริง ๆ ทำงานเข้ากับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้เต็มความสามารถจริงหรือไม่

การอ่านสเป๊คแผงโซล่าเซลล์เบื้องต้น

จากตัวอย่างข้างต้น เป็นสเป๊คแผ่นยี่ห้อ Jinko ซึ่งรวมมาหลายรุ่น แต่ละรุ่นก็มีตัวเลขแตกต่างกัน เราไปเจาะจงกันตรงที่ผมทำสัญลักษณ์สีแดงกันดีกว่า

การดูสเป๊คแผงโซล่าเซลล์
ตารางสรุปรายละเอียดแผงโซล่าเซลล์
  • Maximum Power (PMAX) หรือ Peak Power ซึ่งเป็นกำลังสูงสุดที่แผงนั้นผลิตกระแสไฟได้ หน่วยจะเป็นวัตต์ เช่น 300 วัตต์, 400 วัตต์, 500 วัตต์
  • Maximum Power Voltage (Vmp) เป็นแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่แผงผลิตออกมาได้เวลาไปใช้งาน หน่วยเป็น Volt แต่เวลานำไปคำนวณเพื่อต่อกับ Controller จะไม่ได้ใช้เป็นตัวเลขเหล่านี้คำนวณตรง ๆ แต่ตัว Charger หรือ Controller จะแปลงเหลือเป็นตัวเลขที่มีการใช้งานกันจริง ๆ เช่น 12v 24v 48v เป็นต้น
  • Maximum Power Current (Imp) คือ กระแสไฟที่แผงผลิตได้เวลานำไปใช้งาน หน่วยเป็นแอมป์ ถ้าต้องการใช้งานมากกว่าสเป๊คแต่ละแผง เราสามารถนำมาต่อกันเป็นแบบขนานหรืออนุกรมได้ (จะกล่าวถึงในบทความต่อ ๆ ไป)
  • Short-Circuit Current (ISC) เป็นค่าที่ได้จากการวัดกระแสที่แผงผลิตออกมาตรง ๆ โดยที่ยังไม่ได้ผ่านอะไรเลย วิธีการวัดก็คือใช้มิเตอร์ขั้วบวก ขั้วลบมาชนกัน ตัวเลขที่ได้ออกมาจะได้มากกว่ากระแสใช้งานจริง (Imp)
  • Open-Circuit Voltage (Voc) คือค่าแรงดันที่แผงผลิตออกมาได้สูงสุด เป็นการวัดตรง ๆ ที่แผงโดยที่ยังไม่ผ่านอุปกรณ์อะไรเลย วิธีการวัดก็ใช้มิเตอร์ในการวัด

[su_note note_color=”#dd2510″ text_color=”#ffffff”]หมายเหตุ : เวลาที่วัดค่าต่าง ๆ ควรจะได้สูงกว่าที่ระบุไว้ในสเป๊คบนแผงบ้างเล็กน้อย[/su_note]

คำเตือนเวลาซื้อแผงโซล่าเซลล์

แผงโซล่าเซลล์มีราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ ไม่ต่างกับอุปกรณ์อีเล็กโทรนิคส์ชนิดอื่น บางที่ก็มีขายแผงมือสองราคาล่อตาล่อใจพอสมควร แต่เพื่อไม่ใช่โดนหลอกขายก็มีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือกแผงดังนี้ (สามารถใช้ได้ทั้งแผงใหม่และแผงมือสอง)

  • วัดค่าให้ได้ตามสเป๊คหลังแผง (ตามรายละเอียดที่แจ้งไปด้านบน) ให้ค่าที่ออกมาได้ใกล้เคียงกับที่ระบุไว้มากที่สุด หรือมากกว่าได้ก็ยิ่งดี การวัดก็ใช้มิเตอร์วัดไฟทั่ว ๆ ไปวัดน่ะแหละครับ แต่ใช้แบบดี ๆ หน่อย ถ้าใช้ของถูก ๆ ไปวัดบางค่าที่กระแสเกินกว่ามิเตอร์รับได้ เดี๋ยวมิเตอร์จะพังเอาได้
  • เลือกที่มีประกันแผง ซึ่งส่วนมากก็จะประกัน 25-30 ปีเลยทีเดียวโดยเงื่อนไขก็มักจะระบุว่ารายในระยะประกันจะสามารถผลิตแสงแดดได้กี่ % ที่ได้ระบุไว้ หลังจากหมดประกันไม่ใช่ว่าจะใช้งานไม่ได้แล้วนะ เพียงแต่ความสามารถในการผลิตไฟจะน้อยลงเท่านั้นเอง
  • หรือว่าเป็นแผงมือสองก็ต้องเลือกที่มีประกันนานที่สุด แล้วก็ต้องเป็นร้านที่ไว้ใจได้

การตรวจสอบแผงโซล่าเซลล์มือสอง

  • เริ่มจากมองทางกายภาพภายนอก ต้องสะอาดสะอ้าน ไม่มีขี้เกลือ ไม่มีสนิม ไม่มีน้ำรั่วซึมเข้าไปด้านใน กล่องด้านหลังต้องไม่มีปัญหา แน่นสนิทไม่มีส่วนไหนที่พองหรือบวม กระจกไม่มีการแตกร้าว เป็นต้น
  • ขั้นตอนอื่น ๆ ก็เหมือนกับการเช็คแผงมือหนึ่ง คือการเอามิเตอร์ไปวัดค่าต่าง ๆ ที่แผ่นผลิตออกมาได้
  • ประกันแผ่นมือสอง ก็เลือกที่นานที่สุด ส่วนมากก็ประกันกันที่ 3 ปี 5 ปี 7 ปี มักจะไม่มากไปกว่านี้ แผงมือสองนั้นคงคาดหวังให้ผลิตไฟได้เหมือนแผงมือหนึ่งไม่ได้
กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News