Thursday, March 28, 2024

ทำความรู้จักกับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่

Share

รู้มั้ยครับว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทย เกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์ข้าวหอมนิล กับ ข้าวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นผลงานของศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยนานถึง 4 ปี กว่าจะได้ออกมาเป็น ข้าวไรซ์เบอร์รี่ อย่างที่เราเห็นกัน

รู้จักกับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่

คุณค่าทางโภชนาการ

คุณค่าทางอาหารที่มีอยู่ใน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่เด่นชัด คือ มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี มีโฟเลจในปริมาณที่สูง และยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แกมมาโอไรซานอล, เบต้าแคโรทีน, วิตามินเอ, วิตามินบี 1, ลูทีน, แทนนิน, สังกะสี, ธาตุเหล็ก, โพลีฟีนอล และ โอเมก้า 3 เป็นต้น สารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. บำรุงร่างกาย
  2. บำรุงสายตา
  3. ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เนื่องจากมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระได้
  4. ลดระดับไขมันเลว และคอเรสเตอรอลในเส้นเลือด
  5. ช่วยสร้างคอลลาเจนในร่างกาย ชะลอความแก่
  6. อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรคโลหิตจาง โรคความดันโลหิตสูง โรงสมองเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน

รู้จักกับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่

มีการศึกษาทางการแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีส่วนช่วยในการรักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ไม่ให้สูงจนเกินระดับมาตรฐาน จึงถือได้ว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริโภคเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้ว ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีศักยภาพช่วยป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท และ อาหารหลงลืม (อัลไซเมอร์) ได้อีกด้วย

สารอาหารใน ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ในหน่วยบริโภคทุก ๆ 100 กรัมของข้าวไรซ์เบอร์รี่ จะมีสารอาหารที่ได้รับดังนี้

  • Protein: 8 g
  • Iron: 1.8 mg
  • Fat: 4 g
  • Folate: 48 mcg
  • Zinc: 3.2 mg
  • Sodium: 50 mg

ทำไม ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จึงเป็นสีม่วง

สีม่วงที่เห็นในข้าวไรซ์เบอร์รี่ แตกต่างจากข้าวแดงทั่ว ๆ ไปที่คุ้นตากัน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากมีส่วนประกอบเป็น “สารแอนโทไซยานิน” สามารถละลายน้ำได้ดี เราสามารถทดสอบได้โดยการเอาข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมกับข้าวขาวธรรมดาในอัตราส่วนประมาณ 4/1 (ข้าวขาว ภ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 1) แล้วหุง เมื่อหุงเสร็จจะเห็นว่าข้าวสุกทั้งหม้อนั้น กลายเป็นสีม่วงทั้งหมด

รู้จักกับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ซึ่งสารสีม่วงในข้าวไรซ์เบอร์รี่ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสาร “ต้านอนมูลอิสระ” หรือชื่อสาร ฟลาโวนอยด์


เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพนะครับ เพราะในแต่ละวันเราก็บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว การเปลี่ยนมาบริโภค ข้าวไรซ์เบอร์รี่ แทนข้าวขาวทั่วไป ไม่ใช่เรื่องยากเลย ยิ่งข้าวไรซ์เบอร์รี่เองก็เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาโดยคนไทยด้วยแล้ว ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะสนับสนุน ถึงแม้ราคาของข้าวไรซ์เบอร์รี่จะสูงกว่าข้าวขาวอยุ่บ้างก็ตาม แต่เราก็สามารถเลือกบริโภคด้วยการผสมกับข้าวขาวได้เช่นกัน


บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์ กาเหว่าดอทคอม สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาคือบทความนี้ และใส่ลิงค์กลับมาที่บทความนี้ทุกครั้ง

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News