Thursday, March 28, 2024

ผลเสียจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร

Share

ในโลกของเราใบนี้มีสารเคมีที่นุษย์เราผลิตขึ้นประมาณ 600,000 ชนิด ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์หรือ 60,000 ชนิด ใช้ในชีวิตประจำวัน และมีสารคมีที่เกิดใหม่ปีละ 1,000 ชนิด สารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรพบว่าเป็นยาฆ่าเชื้อรา มากกว่า 250 ชนิด ยาฆ่าหญ้ามากกว่า 150 ชนิด

องค์กรอนามัยโลกได้สำรวจพบว่ามีคนป่วยเนื่องจากสารเคมีปีละ 3 แสนคนและเสียชีวิตปีละประมาณ 220,000 คน ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา เนื่องจากอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกจึงใช้สารเคมีที่นานาประเทศเขาห้ามใช้แล้วทั้ง ๆ ที่มีคำเตือนอยู่ที่ภาชนะบรรจุสารเคมี

สำหรับสถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรในประเทศไทยเป็นดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2489 มีการก่อตั้งองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO เกิดการปฏิวัติเขียวในปี พ.ศ. 2503 เพื่อให้มีอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภค อันเนื่องจากเกิดภาวะอาหารขาดแคลนเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ปี พ.ศ. 2517 ป่าไม้ของไทยถูกทำลายมากที่สุดเพื่อใช้พื้นที่ในการทำการเกษตร
  • ปี พ.ศ. 2526 เกิดโรคระบาดกระจายกันทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรกันมากโดยเฉพาะยากำจัดวัชพืช
  • ปี พ.ศ. 2530 ตรวจพบว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร 9,738 ราย
  • ปี พ.ศ. 2531-2533 สำรวจพบว่าผักร้อยละ 6 และผลไม้ร้อยละ 3 มีสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย
  • ปี พ.ศ. 2536 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาชารณสุขเก็บตัวอย่างผักคะน้าที่จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ สุพรรณบุรี เพรชรบูรณ์ และ ปราจีนบุรี จำนวน 86 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตฐานความปลอดภัยร้อยละ 13 ขณะที่กรมวิทยศาสตร์การแพพย์สำรวจพบว่ผลไม้ที่คนไทยนิยมบริโภค ได้แก่ องุ่น ชมพู่ พุทรา และละมุด 97 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้างถึง 77 ตัวอย่าง โดยเฉพาะองุ่นและชมพู่ พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 71 และ 8 ตามลำดับ

แน่นอนผลเสียที่เราพบแน่ ๆ ว่าเกิดจากการใช้สารเคมี คือ ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายลดลง อันเป็นสาเหตุก่อนให้เกิดโรคมะเร็ง จากข้อมูลการเสียชีวิตของคนในประเทศไทยในปี 2540 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุต่าง ๆ เรียงตามลำดับได้ดังนี้

  • อันดับ 1 อุบัติเหตุ 18 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 2 โรคหัวใจ 14 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 3 มะเร็ง 9 เปอร์เซ็นต์
  • อันดับ 4 โรคตับ 3 เปอร์เซ็นต์

แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2549 – 2550 พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยสาเหตุจากโรคมะเร็งมาเป็นอันดับหนึ่งสองปีติดต่อกันแล้ว ปีละประมาณ 50,000 ราย โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ผิด ๆ และมีสารพิษปนเปื้อน นอกจากสารเคมีหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็งแล้ว ยังมีพิษต่อระบบประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ และอาจทำให้ผู้ชายมีอสุจิอ่อนแอทำให้มีบุตรยาก

  • ปี พ.ศ. 2533 ในประเทศมาเลเซีย จากการสำรวจพบว่ามีผู้เสืยชีวิตจากการใช้ยาฆ่าหญ้า คือ พาราควอท ชนิดเดียวถึง 1,200 ราย ทำให้ปัจจุบันประเทศมาเลเซียได้ห้ามจำหน่ายสารเคมีชนิดนี้ไปแล้ว

นอกจากผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตแล้ว การใช้สารเคมีนาน ๆ ยังทำให้แมลงมีความต้านทานต่อยาปราบศัตรูพืชอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2539 ประเทศอังกฤษ ได้รายงานว่า พบแมลงมากกว่า 500 ชนิด ต้านทานยาฆ่าแมลงที่ฉีด ทำให้ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น

ผลเสียอีกประการที่ตามมา คือ ทำให้พันธุ์พืชดั้งเดิมสูญหาย โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีรางานว่าจากเดิมมีพันธุ์พืชดั้งเดิมอยู่ประมาณ 80,000 ชนิด ปัจจุบันพบเหลืออยู่เพียง 150 ชนิด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำเกษตรแบบสมัยใหม่ ในประเทศเยอรมณี ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาไม่พบสาหร่ายน้ำในแม่น้ำเกิดขึ้นเลย ในประเทศแคนาดาพื้นที่ 6 ไร่ 1 งาน จะพบว่ามีต้นไม้ขึ้นอยู่เพียง 1-5 ชนิดเท่านั้น

ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2538 พบโลหะหนักปนเปื้อนในผักและผลไม้ที่ปลูกในนครซิดนีย์สูงกว่าปริมาณที่ยอมรับได้ 11 เท่า

นอกเหนือจากนั้นยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ สารเคมีบางชนิดอาจจะตกค้างอยู่ในระบบนิเวศนาน บางชนิดอยู่นานถึง 30 ปี เช่น ดีดีที เป็นต้น

ทำไมถึงห้ามใช้พันธ์พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม

เพราะเราไม่แน่ใจว่าพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการดัดแปรงทางพันธุกรรม จะมีความปลอดภัยหรือไม่ อย่างบุหรี่กว่าจะรู้ว่ามันมีอันตรายต่อมนุษย์ คือ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งต้องใช้เวลาในการศึกษาถึงร้อยปี จึงทราบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

ทำไมถึงห้ามใช้ปุ๋ยเคมี

หลายคนเชื่อว่าปุ๋ยเคมีไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ถ้าใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ไนเตรทอาจตกค้างในพืชผักหรือปนเปื้อนในแหล่งน้ำใต้ดิน ถ้าเราบริโภคในเตรทเข้าไปสารดังกล่าวจะแปรรูปเป็นไนไตรท์ โดยทั้งไนเตรทและไนไตรท์ เป็นสารก่อมะเร็งในกระเพาะอาหาร ตับ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงได้มีการกำหนดปริมาณสารไนเตรทตกค้างในผักและน้ำดื่มได้ด้วย

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องพ่นยาฆ่าแมลงทุกครั้งที่พบ

คำตอบคือไม่จำเป็นเลย ยกตัวอย่างในการทำนา จากการสำรวจในแปลงนาข้าวของเกษตรกรจะพบว่ามีตัวห้ำและตัวเบียนอยู่ในเปลงนาทั่ว ๆ  ไป ประมาณ 2,173 ชนิด โดยเป็นตัวห้ำ 820 ชนิด ตัวเบียน 419 ชนิด แมงมุม 293 ขนิด ในขณะที่ศัครูพืชที่พบในแปลงนาจะมีเพียง แมลง 26 ชนิด โรค 22 ชนิด ไส้เดือนฝอย และวัชพืช 18 ชนิด สัตว์ศัตรูพืข 3 ชนิด ดังนั้นการที่เราฉีดพ่นยาเคมีเพื่อฆ่าแมลงทุกครั้งที่พบก็จะเป็นการฆ่ามิตรแท้ที่มีประโชน์ต่อเราไปด้วย ทำให้เกิดแมลงศัตรูพืชระบาดเพราะขาดตัวที่ควบคุมตามรรมชาติ

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News