สารบัญ ลักษณะทั่วไปการเตรียมดินสำหรับปลูกบล๊อคโคลี่วิธีการปลูกการปฏิบัติดูแลรักษาการใส่ปุ๋ยการเก็บเกี่ยวการใช้ประโยชน์โรคและแมลงศัตรูพืชโรคเน่าเละโรคใบจุดหนอนใยผักหนอนเจาะกะหล่ำ ลักษณะทั่วไป บร๊อคโคลี่ มีใบกว้างสีเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอยๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ ความเป็นกรด-ด่าของดินประมาณ 6.0-6.5 ต้องการความชื้นในดินสูง ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม 18-27 องศา มีอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงปลูกที่เหมาะสม คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม การปลูกบร๊อคโคลี่ ชื่อสามัญ Broccoli, Cauliflower ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica olaracea วงศ์ Cruciferae พันธุ์ เดชิโก (De Cicco) มีอายุประมาณ 65 วัน ชากาต้ (Sagat) หรือ กรีนตุกร์ (Green Duke) มีอายุประมาณ 60 วัน กรีนโดมท (Green Come) มีอายุประมาณ 40 วัน ให้ผลผลิตสูงตรงตามความต้องการของตลาด การเตรียมดินสำหรับปลูกบล๊อคโคลี่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แปลงเพาะกล้ากับแปลงปลูกพืช แปลงเพาะกล้า ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15 เชนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน ทำการย่อยดินผสมปุยอินทรีย์, ปุ๋ยคอก ผสมกากถั่ว การปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาด 5-10 ตารางเมตร แปลงปลูกพืช แปลงปลูกพืช ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เขนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน และย่อยพรวนดินใส่ปุ๋ยขี้เป็ดหรือปุยคอกในอัตรา 300 กก.ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันใส่ปูนขาว แล้วปรับสภาพดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง 6-6.8 ให้มีอัตราเหมาะสมกับสภาพดิน ประมาณ 380-1,000 กก./ไร่ วิธีการปลูก การปลูกบร๊อคโคลี่ การเพาะกล้าเพื่อใช้ปลูกในเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 100-150 กรัม หว่านลงในแปลงขนาด 5-10 ตารางเมตร หลังจากต้นกล้ามีอายุ 25-30 วัน แล้วจึงทำการถอนกล้าไปปลูก วิธีการย้ายกล้าไปปลูกทำเหมือนการย้ายกล้าปลูกผักอื่น ๆ คือ ทำการถอนกล้าในตอนเช้า รดน้ำก่อนถอนกล้า เวลาถอนต้องระวังอย่าให้ลำต้นชอกช้ำ วิธีถอนโดยใช้มือดึงตรงส่วนใบขึ้นมาตรง ๆ จะดีกว่าการจับที่ลำต้นแล้วดึงจะทำให้ต้นช้ำได้ เมื่อถอนแล้วใส่เข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุม พอช่วงเย็นแดดอ่อน ๆ นำปลูกในแปลงปลูก ระยะปลูกระหว่างต้น ห่างกันประมาณ 30-60 ซม. ระยะระหว่างแถวห่างประมาณ 50-100 ซม. หลังจากปลูกแล้ว คลุมดินด้วยฟางแห้งบาง ๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วและยังช่วยรักษาความชื้นของดิน การปฏิบัติดูแลรักษา การให้น้ำ ในช่วงแรก ๆ ของการปลูกพืช ไม่ควรให้น้ำมากนัก แต่ต้องการน้ำสม่ำเสมอในปริมาณพอดี อย่าให้แฉะเกินไป ให้น้ำวันละ 2 เวลา เช้าเย็น ฉีดน้ำพ่นฝอย หรือใช้บัวรดฝอยทั่วแปลง ระยะที่ 2 เมื่อต้นพืชเติบโตขึ้นจนถึงระยะเกิดดอก ผักต้องการน้ำมาก ตอนช่วงพัฒนาการออกดอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นมาก การให้น้ำระยะหลังนี้ให้วันละ 2-3 เวลาในปริมาณมากกว่าช่วงแรก การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่เหมาะสมของบร๊อคโคลี่ คือสูตร 10-10-20 หรือสูตร 13-13-21 การใส่แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 25-27 กิโลกรัมต่อไร โดยใส่ครั้งแรกเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อน ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกประมาณ 20 วัน โดยโรยทั้งแถวและพรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยเสริมอาจใช้ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท เมื่อเห็นว่าพืชเจริญเติบโตช้า 20 กก./ไร่ โดยแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งแรกอายุประมาณ 7 วัน ครั้งที่ 2 ให้เมื่ออายุ 30 วัน การเก็บเกี่ยว อายุตั้งแต่ย้ายปลูกจนถึงตัดขายได้ ส่วนใหญ่ประมาณ 70-90 วัน โดยตัดดอกที่มีกลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่นโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-16 ซม. ต้องรีบตัดดอกก่อนที่ดอก จะบานกลายเป็นสีเหลือง แล้วนำมาตัดแต่งทั้งต้นและดอกยาวประมาณ 16-20 ซม. ตัดใบออกให้เหลือติดดอก 2 ใบ เพื่อไว้พันรอบดอกช่วยป้องกันความเสียหาย ขณะขนส่ง การใช้ประโยชน์ การปลูกบร๊อคโคลี่ นำส่วนของดอกบล๊อคโคลี่ ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น นึ่ง, ต้ม, ผัดน้ำมันหอย โรคและแมลงศัตรูพืช โรคเน่าเละ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทางบาดแผลที่เกิดจากหนอนกัดหรือเชื้อราเข้าทำลาย โรคเน่าเละมักพบเกิดร่วมกับโรคไส้ดำที่เกิดจากการขาดธาตุโบรอน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคระบาด ควรรีบถอนไปทำลายเสีย หากพบโรคระบาดมาก ไม่ควรปลูกพืชตระกูลนี้ช้ำที่เดิมอีก ควรปลูกพืชตระกูลอื่นหมุนเวียนบ้าง การป้องกัน : ให้ใช้เทอราคลอหรือไซเนบ อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บรดหรือราดในแปลง 1 ครั้ง หลังจากเก็บต้นที่เป็นโรคทิ้งแล้ว โรคใบจุด ควรมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศที่ดี เมื่อเริ่มมีโรคเกิดขึ้น ให้รีบกำจัดออกแล้วใช้สารเคมี แคปแทน, ดาโคนิล, โลนาโคล, และแอนทราโคล อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันช้ำที่เดิมติดต่อกันนานหลายปี เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรคพืช หากมีการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีดูดซึม เช่น บาวิสติน เดอโรชาล ชาพรอล หนอนใยผัก นิสัยชอบกัดกินใบพืช ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบจะใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน จากนั้นจะกัดกินใบอ่อน โดยใช้เวลา 14 วัน ถึงจะเข้าดักแด้ 3-5 วัน แล้วเป็นตัวเต็มวัยใหม่ การป้องกัน : ใช้สารเคมีพวกโมโนโครโตฟอส ฉีดพ่น 5-7 วัน ต่อครั้งในระยะต้นกล้า ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลง ควรงดการใช้ยา หนอนเจาะกะหล่ำ จะสังเกตุเห็นหนอนกัดกินใบแล้วหนอนระบาดไปกินดอกอ่อน ป้องกันได้โดยกรฉีดฟอสดริน ตามอัตราที่กำหนด