Tuesday, March 19, 2024

ตลาดเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก

Share

ทำไมผู้คนถึงสนใจอาหารอินทรีย์

ในประเทศแถบยุโรปได้มีการพบสารฆ่าแมลงปนเปื้อนในน้ำดื่ม เกิดโรควัวบ้าระบาด พบสารไดออกซิน พันธุ์พืช GMOs นอกเหนือจากการเกิดโรคมะเร็งกับมนุษย์เป็นจำนวนมาก

ในประเทศเยอรมนีมีการศึกษานานกว่า 12 ปี พบว่าอาหารอินทรีย์มีวิตามินซี ธาตุหล็กและสารอื่น ๆ มากกว่าอาหารที่ผลิตจากการเกษตรเคมีโดยทั่วไปนอกจากนั้นยังพบว่าผักอินทรีย์ มีรสชาติที่หวานกรอบกว่าผักเคมี

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

ในประเทศสหรัฐอเมริกาในการประชุมสมาคมนักเคมีเมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ด้านเคมีประมาณ 400 คนเข้าร่วมประชุม มีผู้นำเสนอผลงานกี่ยวกับส้มอินทรีย์ ถึงแม้รูปร่างหน้าตาจะไม่สวนแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะวิตามินซีจะมีมากกว่าส้มที่ผลิตโดยใช้สารเคมีถึง 30 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนั้นนักโภชนาการอาหารของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เดวิส นักวิจัย Alyson Mitchell ได้ศึกษาเปรียบเทียบมะเขือเทศที่ปลูกด้วยระบบเกษตรอินทรีย์กับที่ปลูกด้วยระบบเกษตรทั่วไป ในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัย โดยสุ่มตัวอย่างผลผลิตจากทั้งสองแปลงที่มีการปลูกในระบบกษตรอินทรีย์และทั่วไปต่อเนื่องกัน 10ปี ผลจากการวิเคราะห์พบว่า มะเขือเทศที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์มีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ในกลุ่มของ Quercetin และ Kaempferol มากกว่ามะเขือที่ปลูกในระบบเกษตรทั่วไป สารฟลาโวนอยด์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ประเภทหนึ่ง ที่เชื่อกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในด้านการป้องกันการเกิดมะเร็งโรคหัวใจและโรคสมองเสื่อม

กล่าวโดยสรุปอาหารอินทรีย์ให้ปริมาณคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า ให้ต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อศรษฐกิจที่ดีกว่า ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า ให้ผืนดินที่อุดมสมบุรณ์ดีกว่า และสุดท้ายคือให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ผลิตผลเกษตรอินทรีย์จะมีรูปร่างที่สมส่วนตามธรรมชาติ สีสวยเป็นปกติ มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ มีโครงสร้างของเนื้อนุ่ม กรอบแน่น มีรสชาติดี ไม่มีสารพิษตกค้าง เก็บรักษาได้ทนนานและให้สารอาหารและพลังชีวิตที่ดีที่สุด

เกษตรอินทรีย์สู้โลกร้อน

จากการศึกษาเกษตรอินทรีย์ภาคสนามมาเป็นวลานานถึง 23 ปี ของนักวิจัยสถาบันโรเดล ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือได้ว่าป็นการทดลองเกษตรอินทรีย์ที่ใช้เวลายาวนานที่สุในโลกในที่สุดก็ได้ค้นพบว่าดินของระบบเกษตรอินทรีย์สามารถจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วปลี่ยนป็นเนื้อดินได้ นี่เป็นการศึกษาชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำหน้าที่เป็น “อ่าง” เก็บคาร์บอนของเกษตรอินทรีย์กับเกษตรกระแสหลัก แอนโทนี่ โรเดล ประธานสถาบันโรเดล กล่าวว่า

“เกษตรอินทรีย์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน ทำให้การเกษตรมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม”

ด้วยกระบวนการจับคาร์บอนที่เรียกว่า Carbon Sequestration นี้ พืชและดินจะทำงานร่วมกันโดยทำหน้าที่เป็นเสมือนอ่างเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่า คาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวการที่ทำให้โลกร้อนถึงร้อยละ 80 นอกจากนี้คาร์บอนที่พืชและดินจับไว้ยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชอีกด้วย ซึ่งจากการติดตามตรวจสอบระดับคาร์บอนและไนโตรเจนในไร่นาที่ทำการเกษตรอินทรีย์และระบบเกษตรแบบอื่น ๆ พบว่าในระบบเกษตรอินทรีย์คาร์บอนในดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-28 จากการศึกษาของสถาบันโรเดล แสดงให้เห็นว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 3,500 ปอนด์ต่อเอเคอร์-ฟุต ต่อปี หากพื้นที่ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีอยู่กว่า 160 ล้านเอเคอร์ หันมาใช้วิธีการเพราะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งใช้ปัจจัยการผลิตต่ำกว่าจะสามารถจับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ถึง 580 ล้านปอนด์ต่อปี

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

เช่นเดียวกับการทำปศุสัตว์อินทรีย์ งานวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทุ่งหญ้าและปศุสัตว์แห่งญี่ปุ่น ศึกษาพบว่า การทำฟาร์มปศุสัตว์ส่งผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก การใช้พลังงาน และทำให้น้ำเกิดสภาพเป็นกรด ทีมงานได้เก็บข้อมูลการเลี้ยงวัว และผลกระทบที่มาจากกระบวนการผลิตและขนส่งอาหาร แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้ศึกษาก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการเลี้ยงวัวขุน หลังจากนั้นนำมาคำนวณสัดส่วนก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการวิเคราะห์พบว่า การผลิตเนื้อหนึ่งกิโลกรัม แพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการก่อภาวะโลกร้อนเท่ากับ 36.4 กิโลกรัม และยังปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เป็นปุ๋ย 340 กรัม ฟอสเฟต 59 กรัม และบริโภคพลังงาน 169 เมกะจูลส์ เท่ากับว่า การผลิตเนื้อหนึ่งกิโลกรัมเท่ากับขับรถยุโรปเป็นระยะทางโดยเฉลี่ย 250 กิโลเมตร และเผาผลาญพลังงานเท่ากับเปิดหลอดไฟ 100 วัตต์เกือบ 20 วัน ในส่วนของนักวิจัยชาวสวีเดนได้ศึกษาพบว่า การทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ หรือปล่อยให้วัวเล็มหญ้ากินก่อนให้เกิดก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ร้อยละ 40 และใช้พลังงานน้อยลงร้อยละ 85

ภาวะการทำเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ

ประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์มีการทำเกษตรอินทรีย์ 10 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐอเมริกามีคนทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น 2เปอร์เซ็นต์ทุกปีและทำมากว่า28ปีแล้ว ประเทศสวีเดนในปี พ.ศ. 2513-2523 ได้เกิด GREEN WAVE โคยผู้คนในเมืองได้อพยพเข้าไปทำเกษตรอินทรีย์ในชนบมและได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปีพ.ศ. 2535 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปีพศ 2548 ประเทศเบลเยี่ยม เนธอร์แลนด์ และนอรเวย์ ตั้งเป้าจะทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2553 ประเทศเยอรมณี ตั้งเป้จะทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2553 ระหว่างปี พ.ศ. 2544 -2549 ประเทศแคนาดามีผู้ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์

ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ในตลาดโลก

ปัจจุบันมีสินค้าการเกษตรเกือบทุกชนิดที่สามารถผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ เช่น ไวน์อินทรีย์ที่ผลิตจากองุ่นอินทรีย์  ช็อคโกแล็ตอินทรีย์ที่ทำจากโกโก้อินทรีย์ กาแฟอินทรีย์ ชาอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ ถั่วหลืองอินทรีย์ ฝ้ายอินทรีย์ หน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์ ข้าวโพดฝักอ่อนอินทรีย์ กล้วยหอมอินทรีย์ สับปะรดอินทรีย์ ส้มอินทรีย์ ลำไยอินทรีย์ แอปเปิ้ลอินทรีย์ ผักอินทรีย์  นมอินทรีย์ ไก่อินทรีย์ อาหารอินทรีย์สำหรับเด็ก อาหารสัตว์ เครื่องเทศ สมุนไพร เครื่องสำอาง และครื่องดื่มอินทรีย์นานาชนิด เป็นต้น

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

สำหรับสถานการณ์ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกนั้นในปี พ.ศ. 2549 บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยรายงานโอกาสในสินค้าอาหารอินทรีย์ของไทยว่า ไทยมีโอกาสที่จะขยายตลาดข้าวอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ประมงโดยเฉพาะกุ้งอินทรีย์ เนื่องจากไทยยังมีพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพียง 140,963 ไร่ ซึ่งไม่ถึงร้อยละ 0.1 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมดของประเทศ

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

ขณะที่ความต้องการของตลาดโลกมีอัตราเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 10-20 ต่อปี โดยในปี 2550 มูลค่าตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 45,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เติบโตขึ้นจากปี 2549 ร้อยละ 12.5 ซึ่งมีมูลค่า 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คาดว่าปี 2553 มูลค่าการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกจะเพิ่มเป็น 60,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากกระแสพฤติกรรมของคนทั่วโลกที่หันไปนิยมบริโภคอาหารที่ผลิตตามวิธีธรรมชาติมากขึ้น โดยสหภาพยุโรปมีสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 50 ของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก รองลงมาเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 45 สำหรับตลาดญี่ปุ่นมีสัดส่วนร้อยละ 2.3 ตลาดออสเตรเลียสัดส่วนร้อยละ 1 ดังนั้นโอกาสและลู่ทางในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปขายในตลาดโลกของประเทศไทยยังมีอยู่มาก

ส่วนสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทในเครือนครหลวง และบริษัทในเครือสยามวิวัฒน์ ผลิดข้าวอินทรีย์ในท้องที่จังหวัดพะเยาและเชียงราย เนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 1,200-1,500 ตัน ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ภายใต้การควบคุมขององค์กรตรวจสอบคุณภาพของประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

นอกจากนั้นในหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ฯลฯ ก็ได้มีการผลิตข้าวอินทรีย์ส่งไปขายยังสหภาพยุโรปภายได้เครือข่ายของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน จังหวัดอุบลราชธานีส่งออกในนามสมาคมเกษตรก้าวหน้า เป็นต้น ปัจจุบันประทศไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2549 140,939 ไร่ (คิดเป็น 0.11 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ 131,270,000 ไร่) ผลผลิต 30,381 ตันคิดเป็นมูลค่า 948  ล้านบาท โดยขายในประเทศ 520 ล้านบาท และส่งออกต่างประเทศ 428 ล้านบาท

ปี พ.ศ. 2542-2546 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการนำร่องการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อการส่งออก โดยร่วมกับบริษัทผู้ส่งออกจำนวน 6 บริษัท ตั้งเป้าหมายผลิตพืชอินทรีย์ 6 ชนิด เพื่อการส่งออก คือ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน กล้วยไข่ สับปะรด ขิง และกระเจี๊ยบเขียว เพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2549 เกิดวาระแห่งชาติเกษตรอินทรีย์ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจำนวน 1,215.97 ล้านบาท โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นผู้ประสานงานแบ่งการดำเนินงาน เป็นการประชาสัมพันธ์ การวิจัยพัฒนาการสร้างเครือข่ายแกนนำเกษตรกร การจัดฝึกอบรม การสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านเทคโนโลชีวภาพ การรับรองมาตรฐานและการส่งเสริมการตลาด

พ.ศ. 2551 เกิดแผนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 อนุมัติกรอบงบประมาณ จำนวน 4,826.80 ล้านบาท เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554

ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ โดยได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการที่กระทรวงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2551 สนใจต้องการศึกษาหข้อมูลตลาดเกษตรอินทรีย์ ให้เข้าไปดูที่เว็บไซต์ http://www.organic.moc.go.th/ หรือโทร. 0-4451-1384

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News