Friday, March 29, 2024

หญ้าแฝก … หญ้าอัศจรรย์สำหรับเกษตรกร

Share

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขและป้องกันปัญหาหน้าดินที่พังทลายอันป็นสาเหตุให้สูญเสียพื้นที่หนดินและน้ำ จึงทรงเสนอแนะวิธีการธรรมชาติด้วยกำแพงที่มีชีวิต นั่นคือ “หญ้าแฝก”

เนื่องด้วยระบบรากของ “หญ้าแฝก” ที่ฝังลึกไปในดินตรง ๆ และแผ่กระจายเหมือนกำแพงจึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดิน ช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้และป้องกันการพังหลาของหน้าดิน เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น สามารถขยายพันธุ์ได้ผลรวดเร็วโดยการแตกหน่อจากลำตันใต้ดิน ทั้งยังเจริญเติบโตได้ในสภาพดินที่มีโลหะหนัก

หญ้าแฝก ... หญ้าอัศจรรย์สำหรับเกษตรกร
หญ้าแฝก … หญ้าอัศจรรย์สำหรับเกษตรกร

จึงมีการนำไปใช้ประโยชนอการอนุรักษ์ดิน เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชันหรือบริเวณเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดชะของหน้าดิน ปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม และยังใช้ปลูกป้องกันสารพิษปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ ปลูกเพื่อใช้บำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทและดูดชับโลหะหนักจากดิน เป็นต้น

เมื่อวันที่ 22 มิฤนายน พ.ศ. 2534 ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงาน กปร. ในขณะนั้นว่าให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้แฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและอนุรักษ์ความชุมชื้นไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทานพระราชดำริอีกหลายครั้งเกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ การดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้ จะต้องชี้แจงให้ราษฎรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย

ตัวอย่างของการจัดการทรัพยากรดินด้วยการอนุรักษ์ดินและพื้นฟูพื้นที่เสื่อมสภาพ โดยการป้องกันการเสื่อมโทรมและการชะล้างพังทลายของดินด้วยการปลูก “หญ้าแฝก” พืชจากพระราชดำริที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน ได้แก่ โครงการพื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี และได้มีการนำมรรควิธีนี้ไปศึกษาวิจัย และนำไปสาธิตในท้องที่ต่าง ๆ ที่มีศูนย์ศึกษาการพัฒนา ตั้งอยู่ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอื่น ๆ เช่น โครงการพัฒนาหญ้าแฝกในโครงการพัฒนาคอยตุง เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบและนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลดีแก่ตัวเกษตรกรเองและสังคมโดยรวม

ผลจากการดำเนินงานตามพระราชดำริในการศึกษาให้ทราบพันธุ์และหาวิธีปลูกหญ้าแฝก ที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้สมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดินนานาชาติ (International Erosion Control Association : IECA) มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Association’s International Merit Award แค่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณในฐานที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในประเทศไทย

ลักษณะทั่วไปของหญ้าแฝก

หญ้าแฝก ... หญ้าอัศจรรย์สำหรับเกษตรกร
หญ้าแฝก … หญ้าอัศจรรย์สำหรับเกษตรกร

หญ้าแฝกเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศไทย จะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ขึ้นเป็นคอหนาแน่น เจริญเติบโตโดยการเตกกออย่างรวดเร็ว ความสูงจากยอด 0.5-1.5 เมตร หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวงแนวลาดเทของพื้นที่ จะแตกคอติดต่อกันเหมือนรั้วที่มีชีวิต

สามารถกรองเศษพืชและตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมติดอยู่กับกอหญ้าเกิดเป็นคันดินธรรมชาติได้

หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก เจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกด้านข้าง และมีจำนวนรากมาก จึงเป็นพืชทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันหนาแน่นเสมือนกำแพงใต้ดิน สามารถก็บกักน้ำและความชื้นได้ ระบบรากแผ่ขยายกว้างเพียง 50 เซนติเมตร โดยรอบกอท่านั้น จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง จัดเป็นมาตรการอนุรัษ์ดินและน้ำวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะพื้นที่สองข้างทางของคลองชลประทาน อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป้องกันขอบตลิ่ง คอสะพาน หรือไหล่ถนน ก็ล้วนสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ได้เป็นอย่างดี

การปลูกหญ้าแฝก

  1. ใช้กล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกขนาดเล็ก การปลูกหญ้าแฝกที่ได้จากการขยายพันธุ์ในถุงขนาดเล็ก (ขนาด 2×6 นิ้ว) จะช่วยให้หญ้าแฝกรอดตายสูง มีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ เมื่อกล้าหญ้าแฝกในถุงมีอายุ 45-60 วัน ก็พร้อมที่จะนำไปปลูกได้ การปลูกควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 10 เซนติเมตร เมื่อปลูกหญ้าแฝกด้วยถุงเสร็จแล้ว ต้องรดน้ำต่อไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าหญ้าแฝกจะตั้งตัวได้ โดยทั่วไปประมาณ 15 วัน หรือช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน 2 สัปดาห์เมื่อหญ้าแฝกตั้งตัวได้ ก็จะมีการปรับตัวข้ากับสภาพพื้นที่ต่อไป
  2. ใช้กล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย การปลูกหญ้าแฝก โดยใช้กล้าแบบรากเปลือยจะทำให้การปลูกหญ้แฝกทำได้รวดเร็ว ขนส่งไปได้บริมาณมาก และสามารถปลูกได้ปริมาณมาก แต่จะมีความเสี่ยงในช่วงหลังจากปลูกสูง เนื่องจากกล้าอาจจะตายได้หากขาดน้ำ และกล้ารากเปลือยจะมีการแตกหน่อช้า ดังนั้น ผู้ปลูกควรจะให้ดวามระมัดระวังเป็นพิเศษ การเตรียมหน่อกล้ารากเปลือย ควรใช้หน่อพันธุ์อายุ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ตัดใบให้สั้นเหลือความยาว ประมาณ 20 เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นที่สุด มัดหน่อหญ้าแฝกรวมกันเป็นมัด ๆ มัดละ 50 หรือ 100 หน่อ นำไปแช่ในน้ำหรือน้ำผสมฮอร์โมนเร่งราก หลังหญ้าแฝกตกรากใหม่ จำนวน 2-3 ราก จึงนำไปปลูก ช่วงต้นฤดูฝนที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง การปลูกควรใช้ระยะห่างระหว่างตัน 5 เซนติเมตร

วิธีปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ชลประทาน

  1. วิธีปลูกหญ้าแฝกบริเวณอ่างเก็บน้ำ ควรวางแนวปลูกหญ้าแฝก เป็นแถวตามแนวระดับรอบอ่างจำนวน 3 แถว แถวที่ 1 ปลูกที่ระดับเก็บกักน้ำรอบอ่าง แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับสูงกว่าแถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 2 เซนติมตร รอบอ่าง แถวที่ 3 ปลูกที่ระดับต่ำกว่าแถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร รอบอ่าง
  2. วิธีปลูกหญ้าแฝกริมคลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขนานไปตามคลองส่งน้ำหรือคลองระบายน้ำ ห่างจากริมคลองส่งน้ำหรือคลองระบายน้ำ 30-50 เซนติเมตร ควรปลูกเพียง 1 แถว แต่กรณีคลองส่งน้ำหรือคลองระบายน้ำมีความลาดซันสูง ควรปลูกเป็นเเถวเพิ่มเป็น 3 แถว
  3. วิธีปลูกหญ้าแฝกสำหรับถนนหรือทางลำเลียง ให้ปลูกหญ้าแฝกบนไหล่ถนนหรือทางลำเลียงเพียงข้างละ 1 แถว
  4. วิธีปลูกหญ้าแฝกรอบขอบบ่อน้ำ สระน้ำ ควรวางแนวปลูกหญ้าแฝก เป็นแถวตามแนวระดับจำนวน 2 แถว คือที่ระดับห่างจากริมขอบบ่อประมาณ 50 เชนติเมตรและที่ระดับทางน้ำเข้าบ่อ

เวลาปลูกที่เหมาะสม

การปลูกหญ้าแฝกควรดำเนินการช่วงต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนในขณะที่ดินยังมีความชุมชื้นอยู่ โดยวางหน่อหญ้าแฝกไว้ในร่องที่เตรียมไว้ปลูกแถวเดียว

  • หากปลูกโดยใช้กล้าหญ้าแฝกรากเปลือย ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร
  • หากปลูกโดยใช้กล้าหญ้าแฝกพะชำในถุง ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 10 เซนติเมตร

หลังปลูกเสร็จกลบโคนให้แน่น จากนั้นควรตรวจและดูแลอย่างสม่ำเสมอและปลูกซ่อมต้นที่ตาย หลังปลูกประมาณ 3 เดือนควรทำการตัดใบเหลือความสูงระดับประมาณ 40-50 เซนติเมตร

การขอรับบริการกล้าหญ้าแฝก

หน่วยงานของกรมชลประทาน สามารถขอรับบริการกล้าหญ้าแฝก คำแนะนำ และเอกสารคู่มือการขยายพันธุ์และการปลูกได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต หรือสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด กรมพัฒนาที่ดินในเวลาราชกร เนื่องจากในปัจจุบันหน่วยงานเหล่านี้มีโรงเรือนเพาะชำกล้าหญ้าแฝกอยู่ในบริเวณสำนักงาน นอกจากนี้ยังสามารถขอรับบริการจากเครือข่ายที่เป็นแหล่งผลิต และขยายพันธุ์หญ้าแฝกที่มีอยู่ในระดับตำบลทั่วประทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งจุดการเรียนรู้หมอดินอาสาประจำตำบล

กลุ่มงานวัชพืช สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับกลุ่มกิจกรรมพิเศษ กรมชลประทาน


อ้างอิงบทความ

  • หนังสือเกษตรอ่านฟรีจากสำนักพิมพ์นาคาบุ๊คส์
  • ภาพประกอบจาก : Pixabay
กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News