Tuesday, March 19, 2024

การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องเข่า

Share

ผู้ที่มีอาการปวดหัวเข่า ที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม และสาเหตุอื่น ไม่ว่าจะเรื่องของน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ทั้งหมดนี้ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่ดูแลเสียแต่เนิ่น ๆ จะยิ่งทำให้อาการลุกลามหรือหายช้า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การปรับการกิน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ช่วยในการรักษาโรคโดยตรง แต่ก็จะได้รับสารอาหารที่เหมาะสม อีกทั้งยังในการเสริมสร้างกระดูกและกล้ามหน้าให้แข็งแรง

การรับประทานอาหารบำรุงหัวเข่า

อาหารสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าควรรับประทาน

  • อาหารจำพวกที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ซึ่งจะพบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน สำหรับปลาน้ำจืดจำพวกปลาเนื้อขาวก็พบมากเช่นกัน โอเมก้า 3 จะช่วยเสริมสร้างกระดูให้แข็งแรง ลดอาการปวดและอักเสบสำหรับผู้ที่มีอาการปวดตามหัวเข่า อีกทั้งลดอาการแข็งตามข้อต่อต่าง ๆ
  • อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงและมีสารต้านอนุมูลอิสระ จะพบในผักสีเขียวเยอะที่สุด เช่น บร๊อคโคลี่ ผักคะน้า ผักโยม ผักกระเฉด  นอกจากผักใบเขียวแล้วควรรับประทานผักสีอื่น ๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ได้รับวิตามินที่หลากหลายตามที่ร่างกายต้องการ แต่ในส่วนของผักใบเขียวนั้น จะมีวิตามินเคที่ช่วยในการบำรุงกระดูก
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น อัลมอนด์ งาดำ นมและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ได้จากนม รวมถึงถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากถั่วเหลือง ทั้งน้ำเต้าหู้ เต้าหู้หลอด โดยรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ไข่ ปลาซาดีน เพราะวิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
  • อาหารที่ให้วิตามินซี ซึ่งมักจะอยู่ในผลไม้ต่าง ๆ เช่น สับปะรด ส้ม มะละกอสุก ฝรั่ง เพราะจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • อาหารจำพวกที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งจะมีอยู่ในผักและผลไม้ เช่น มะเขือเทศ หัวหอม ชาเขียว บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ และ แอปเปิ้ล เพราะสารไบโอฟลาโวนอยด์จะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายในการดูดซึมวิตามินซี ทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยในร่างกายแข็งแรง รวมถึงถึงเนื้อเยื่อด้วย ลดโอกาสในการเกิดการฟกช้ำ หรือ บวม
  • ปรุงอาหารโดยการนึ่ง ต้ม หรือ ย่าง แทนการผัด ทอด เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักตัว

“แม้อาหารจะไม่ใช่ยา แต่มีประโยชน์ต่อกระดูก”

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

การรับประทานอาหารบำรุงหัวเข่า

  • อาหารเสริมและวิตามินสำเร็จรูป จริง ๆ ก็สามารถรับประทานได้ แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อน แพทย์จะได้กำหนดให้กินได้ในปริมาณที่เหมาะสม เท่าที่ร่างกายต้องการ เพราะหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะกลายเป็นโทษมากกว่าจะได้ประโยชน์ แถมต้องเสียเงินซื้อวิตามินราคาแพงโดยไม่จำเป็น
  • อาหารรสเค็มและอาหารทุกชนิดที่มีโซเดียมสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะส่งผลให้เซลล์ในร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากจนทำให้ร่างกายบวมน้ำได้ ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอสปรุงรส อาหารแปรรูป หมัก ดอง ขนมกรุบกรอบ และอาหารเค็มแทบจะทุกชนิด
  • อาหารที่มีรสหวานและมีน้ำตาลมาก เพราะน้ำตาลจะทำให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายตอบสนองได้น้อยลง ซึ่งก่อให้เกิดอาการอักเสบบริเวณหัวเข่าได้ง่ายขึ้น
  • อาหารทอดและอาหารที่มีไขมันเยอะ เพราะนอกจากจะสะสมในร่างกายทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเพิ่มการอักเสบได้
  • แป้งขัดขาว เช่น ขนมปังข้าว พาสต้า ซีเรียล ธัญพืชขัดขาว อาจกระตุ้นการอักเสบของข้อต่อกระดูก
  • เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงนาน ๆ นอกจากเสียคุณค่าทางอาหารแล้ว จะทำให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อต่าง ๆ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจกระตุ้นอาการต่างๆ ให้รุนแรงขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยากับยาที่กินอยู่ ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ได้ผลเท่าที่ควร และส่งผลกระทบอื่น ๆ ตามมา
  • กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ จนอาจทำให้แคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล หากได้รับในปริมาณมากๆ เป็นประจำอาจทำให้มวลกระดูกบางลงด้วย

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่เว็บไซต์ กาเหว่าดอทคอม สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มาคือบทความนี้ และใส่ลิงค์กลับมาที่บทความนี้ทุกครั้ง

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News