Friday, March 29, 2024

เกษตรอินทรีย์

Share

ในภาวะปัจจุบันกระแสความตื่นตัวด้านเกษตรอินทรีย์ได้แพร่หลายและกระจายอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญแล้ว ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากได้เห็นพิษภัยของสารเคมีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตรหรือกิจการอื่น ๆ ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อดินแหล่งน้ำและสภาพเวดล้อมและเกิดอันตรายต่อชีวิตมนุมย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งในยุโรปได้ดำเนินการผลิตพืชและสัตว์เพื่อบริโภคเอง ตลอดจนขายในหมู่ผู้บริโภคที่รักชีวิดของตนเองและด้องการอาหารทีสดสะอาดและปลอดภัยจากสารพิษเป็นสำคัญ การระบาดของโรควัวบ้าและการพบสารไดออกชินในประเทศเบลเยี่ยมมีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในหภาพยุโรปหันมาทำเกษตรอินทรีย์กันมากขึ้น ปัจจุบันเกษตรอินทรีย์ถือเป็นเรื่องธรรมดา ๆ สามัญของหลายประทศในยุโรปเพราะรู้จักและคุ้นเคยกับมันมานานแล้ว เช่น ประเทศสวีเดน ออสเตรีย ฟินแลนด์ กรีซ สเปน และ อิตาลี เป็นต้น

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

การเกษตรอินทรีย์ของโลกครั้งแรกเกิดขึ้นในทวีปยุโรปและต่อมาได้แพร่หลายและกระจายเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาแคนาดา ฯลฯ ในขณะที่ประเทศเถบเอเซียเรานิยมชมชอบกับการทำการเกษตรแบบธรรมชาติโดยยึดแนวทางจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นหลัก ประเทศไทยเองตั้งแต่ตั้งแต่เดิใก็มีการทำการเกษตรที่ปลอดภัยมาช้านานแล้วและเรียกขานกันในหลา รูปแบบ เช่น เกษตรไร้สารพิษ เกษตรปลอดสารพิษ เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ เกษตรธรรมชาติ เกษตรยั่งยืน เป็นต้น

กำเนิดเกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์เกิดมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษชาติตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่มนุษย์รู้จักวิธีการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เมื่อประมาณ 10,000 ปี มาแล้ว โดยอาศัยหลักการพึ่งพิงธรรมชาติเละหมุนวียนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่เกษตรอินทรีย์สมัยใหม่โคยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เริ่มต้นครั้งแรกในทวีปยุโรปเมื่อปี พ.ศ.2479 โดยเซอร์อัลบิร์ต โฮเวิร์ด ซึ่งถือได้ว่าเป็นบิดาของกาทำเกษตรอินทรีย์ได้เขียนรื่องราวเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในหนังสือเรื่อง “คัมภีร์การเกษตร” (An Agricultural Testament) เมื่อเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2483 โดยกล่าวถึงหลักการทำเกษตรอินทรีย์ไว้ 7 ประการ คือ

  1. สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
  2. สุขภาพที่ดีต้องใช้ได้กับทั้ง ดิน พืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  3. ความอ่อนแอที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อาหารแรก คือ ดิน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อื่น ๆ ที่อยู่ลำดับสูงขึ้นไปตามลำดับจนถึงมนุษย์ซึ่งอยู่บนสุด
  4. การระบาดของโรคแมลงต่อพืชและสัตว์ในระบบการเกษตรสมัยใหม่ คือ ปัญหาในห่วงโซ่อาหารที่สองและสาม
  5. ปัญหาสุขภาพของมนุยย์เป็นผลมาจากห่วงโซ่อหารที่สองและสาม
  6. สุขภาพที่ไม่ดีของพืช สัตว์ และ มนุษย์ เป็นผลต่อเนื่องมาจากสุขภาพที่ไม่ดีของดิน
  7. การยอมรับกฏและบทบาทของธรรมชาติโดยสำนึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการพัฒนาให้ถูกต้องโดยไม่ยาก ทั้งนี้จะต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการรบกวนต่อกระบวนการสะสมธาตุอาหารในดินที่ดำเนินการโดยจุลินทรีย์ในดิน

เกษตรอินทรีย์คืออะไร?

เกษตรอินทรีย์คืออะไร เป็นคำถามที่ไม่แน่ใจว่ผู้คนจะรู้ซึ้งถึงคำ ๆ นี้มากน้อยเพียงใด บ้างก็ว่สคือการทำการเกษตรโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ บ้างก็ว่า คือการทำการเกษตรที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพและสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชซึ่งก็ถือได้ว่าถูกส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ก็อย่างที่บอกไว้แล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรป ดังนั้นนิยามของคำว่า เกษตรอินทรีย์ จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศซึ่งแตกต่างกันไป

สำหรับประเทศไทยได้ให้คำนิยามหรือความหมายของเกษตรอินทรีย์ซึ่งแตกต่างจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษและผักอนามัย ดังนี้

1. เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)

คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมคุลของธรรมชาดิและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้สารสังคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมนั้น การใช้อินทรียวัดถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและชีวภาพ ในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากอันตรายของสารพิษตกค้าง ทำให้ปลอดภัยทัตตัวผู้ผลิต ผู้บริโภค และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์ ไว้ว่า

เกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง  ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวมที่เกื้อหนุนต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังคราะห์และไม่ใช้พืชสัตว์หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปรงพันธุกรรม (genetic modifcation) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยนั้นการแปรรูป ด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน”

2. อาหารอินทรีย์ (Organic Food)

คืออาหารที่ได้จากผลิตผลและ/หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตจากระบบการเกษตร โดยใช้วัสดุธรรมชาติแต่ไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม ทั้งนี้ เน้นการที่ฏิบัติที่ไม่เพิ่มมลพิษแก่ภาวะแวดล้อม

3. ผักไร้สารพิษ

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

คือผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืชหรือเคมีทุกชนิด แตะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวและต้องไม่มีสารพิษใด ๆ ทั้งสิ้น

4. ผักอนามัย (Hygienic Vegetable)

คือผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปัยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อได้คุณลักษณะตามมาตรฐาน

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์

การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุ และสภาพของดิน ทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหายและไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้ป็นอันตราบยิ่ง กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุทำให้ผลิตผลมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำ เป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอขาดภูมิต้านทานโรค และทำให้การคุกคามของแมลงและเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้นจะเร่งการเจริญเติบโตของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหารและระบบการกษตรของเรา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน

เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

จากรายงานการสำรวจขององค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2543 พบว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลกแต่ใช้ยาฆ่าแมลงอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าอันดับ 4 ของโลก ใช้ฮอร์โมนอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังคราะห์ทางการเกษตร เป็นเงินปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปีไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุนมีหนี้สินลั้นพันตัว การกษตรอินทรีย์จะป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

การเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรเชิงเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากมายดังนี้

  1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
  2. ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม
  3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดทำให้เพิ่มความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด
  4. แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน
  5. พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนดทำให้เกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค
  6. สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากทำให้ตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ส่งผลต่อผู้บริโภคโรควัวบ้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่าการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงป็นการทรมานสัตว์แต่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

กาเหว่า
กาเหว่าhttp://konderntang.com
มีความชอบและหลงไหลในเทคโนโลยีทางด้านไอที การลงทุน และเงินคริปโต .. นอกจากนี้แล้วมักใช้เวลาว่างไปกับการท่องเที่ยว ถ่ายรูป ไปค่ายอาสา ..

Read more

Local News